วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่4 องค์กรแห่งการเรียนรู้

กรณีศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3 แห่ง

โรงพยาบาลศิริราช

1. วัตถุประสงค์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลให้ความสำคัญกับการสร้างความสุขในองค์กรค่อนข้างมาก การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จะเกิดขึ้นภายใต้คำถามสำคัญคือ “บุคลากรในองค์กรของเรามีความสุขไหม” การดำเนินสร้างสุขในองค์กรส่วนใหญ่จะดำเนินการภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายทรัพยากรบุคคล กระบวนการสร้างสุขในองค์กร มักเริ่มต้นด้วยการสำรวจสภาพความสุขในแต่ละมิติโดยพิจารณาจากความพึงพอใจของพนักงานเป็นหลัก และด้วยองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ความแตกต่างทางด้านรายได้ของบุคลากรจึงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน รายได้ที่บุคลากรบางส่วนได้รับนั้นอาจไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพในสังคมปัจจุบันมากนัก ทำอย่างไรจึงจะทำให้บุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ไม่ใช่สายวิชาการมีความสามารถที่จะบริหารรายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นได้อย่างเหมาะสม เป็นที่มาของโครงการ Happy Money โดยมีการจัดโครงการ Happy Money ปีละ 1 ครั้ง ให้สถาบันการเงินเข้ามานำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองได้ รูปแบบของกิจกรรมจึงเป็นลักษณะของการให้ข้อมูล ความรู้ที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการด้านการเงินส่วนบุคคล กิจกรรม ประกอบด้วย การออกบูธประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์ด้านการเงินขององค์กรการเงินต่าง ๆ แพ็คเกจการออมเงิน และโปรโมชั่นพิเศษจากสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ, เสวนาข้อมูลเชิงลึก แนวโน้มเศรษฐกิจ ความรู้ด้านการเงิน การลงทุน โดยกูรูผู้เชี่ยวชาญ, เคล็ดลับการสร้างวินัยทางการเงิน และรู้จักโปรแกรมตรวจสอบสุขภาพทางการเงินออนไลน์จาก Thailand Securities Institute (TSI) เป็นต้น

2. วิธีการดำเนินการผู้บริหารและคณะทำงาน KM เข้ารับการอบรมจากวิทยากร หลังจากนั้นได้เลือกหัวข้อขององค์ความรู้เรื่อง "การทำ CQI (continuous quality improvement) ทางคลินิก" มาบริหารจัดการ เหตุผลที่เลือก CQI ทางคลินิก เพราะคณะฯ มีนโยบายการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก และที่ผ่านมาทีมดูแลผู้ป่วยเกือบทุกทีมใน ร.พ.ศิริราช ต่างมีรูปแบบพัฒนาคุณภาพของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วย แต่น่าเสียดายที่รู้เฉพาะในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเล็กๆ ดังนั้นการเปิดเวทีให้ทีมต่างๆ นำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จะทำให้การดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชมีการพัฒนารวดเร็วขึ้นมาก โดยตั้งเป้าหมายหลักของโครงการ (Desire State) ไว้ดังนี้ : "มีระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้ (ด้าน CQI ทางคลินิก) เพื่อให้มี Best Practice ในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช"
      1. ขอความสนับสนุนจากผู้บริหารคณะฯ และชี้แจงประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในองค์กรได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเข้าใจว่าตนเองจะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้อย่างไร โดยจะมีการชี้แจงผ่านสื่อต่างๆของคณะฯ และจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เสริมเป็นช่วงๆ ตลอดทั้งโครงการ
      2. ใช้ระบบสารสนเทศที่มีอยู่ เช่น SiNet เป็นสื่อกลางในการรวบรวมและแลกเปลี่ยนความรู้อย่างเป็นระบบให้มากขึ้น โดยคณะฯได้ปรับโปรแกรม Lotus notes ที่มีใช้อยู่แล้วให้สามารถรองรับการดำเนินการในด้านนี้แล้ว
      3. สร้างชุมชนแห่งความรู้ทาง CQI (Community of Practice) โดยชักชวนบุคลากรที่มีความสนใจจะทำกิจกรรม CQI ให้มารวมตัวกันหรือจัดเป็นเครือข่าย เพื่อให้มีการช่วยเหลือ แนะนำ และให้คำปรึกษาในการนำ CQI มาช่วยการพัฒนากระบวนการ ดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีผลดียิ่งขึ้น รวมทั้งขยายผลความรู้หรือผลที่ได้จากการทำ CQI ให้กว้างขวางออกไป

 ส่วนคณะทำงาน ประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่าย มีรองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพงานเป็นประธาน โดยมีแนวทางในการดำเนินการหลักๆอยู่ 3 อย่าง ได้แก่

3.ปัจจัยความสำเร็จต่อการขับเคลื่อนองค์กรแห่งความสุขของศิริราชคือ การมีนโยบายองค์กรสนับสนุน การสนับสนุนของผู้บริหารองค์กร ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรในแต่ละระยะ อีกทั้งระยะเวลาในการจัดกิจกรรมที่มากเพียงพอให้บุคลากรทุกส่วนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ การมีช่องทางประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย และการมีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสนับสนุนพร้อมเครื่องมือสำหรับช่วยในการสร้างสุขทางการเงินให้กับบุคคล เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่4 องค์กรแห่งการเรียนรู้

กรณีศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3 แห่ง โรงพยาบาลศิริราช 1.  วัตถุประสงค์  คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลให้ความสำคัญกับการสร้างความส...